|
|
ปัญหาสีระบบน้ำมัน
ปัญหา :ฟิล์มสีย่น (เกิดกับสีที่แห้งโดยอากาศ)และวิธีการเคลือบประเภทงานทา โดยใช้แปรง
สาเหตุ : เกิดจากการดึงกันระหว่างชั้นของฟิล์มสี เนื่องจากทิ้งระยะเวลาการเคลือบทับน้อยเกินไป
การแก้ไข :ขูดลอกฟิล์มสีย่นออกให้หมดก่อน แล้วจึงทำการทาสีใหม่
การป้องกัน : ควรทาสีให้ได้ความหนาที่พอเหมาะและทิ้งระยะเวลาการเคลือบทับตามคำแนะนำของผู้ผลิต (ไม่ควรน้อยกว่า 4 ชม.)
ปัญหา : ฟิล์มสีพอง
สาเหตุ :
ใช้ทินเนอร์ที่มีความแรงมากมาผสมสีในการใช้งานเคลือบเที่ยวสอง ทำให้ฟิล์มสีชั้นแรก (ฟิล์มสีเดิม) พองขึ้นมา เกิดจากการซ่อมสี โดยการใช้สีใหม่มาเคลือบ สีเดิมที่ไม่ทราบประวัติ ทำให้ฟิล์มสี เดิมพองขึ้นมา
การแก้ไข : ขูดลอกฟิล์มสีพองออกให้ หมด ก่อนแล้วทำการเคลือบสีใหม่
การป้องกัน : การเคลือบทับเที่ยวสอง และการซ่อมสี ควรใช้ทินเนอร์ระบบเดียวกับฟิล์มสีชิ้นแรก (ฟิล์มสีเดิม)
ควรมี การทดลองเคลือบสีบนพื้นที่บริเวณเล็กๆ ก่อนทำการซ่อมสีจริง หากฟิล์มสีเดิม ที่ไม่ทราบประวัติ พอง แสดงว่าไม่สามารถนำสีซ่อมนั้นมาใช้งานได้
ปัญหา :ฟิล์มสีเป็นคราบดำ
สาเหตุ : มักเกิดกับฟิล์มสีที่อยู่ในบริเวณใกล้โรงงานอุตสาหกรรม, บริเวณที่มีความหนาแน่น ของก๊าซ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สูง และบริเวณที่มีการจราจรหนา แน่น
การแก้ไข :ตรวจสอบ และทำการแก้ไขพื้นผิวบริเวณดังกล่าวให้สะอาดหมดคราบดำ แล้วทำการเคลือบ ทับใหม่โดยใช้สีที่ไม่มีตะกั่ว,และปรอทเป็นส่วนประกอบ
การป้องกัน : ควรเลือกสีที่ไม่มีส่วนผสมของสารตะกั่วหรือสารปรอท เป็นส่วนประกอบของสี ในการใช้ทา พื้นผิวบริเวณ
ปัญหาสีระบบน้ำพลาสติก (สีอีมัลชั่น) และการแก้ไข
ปัญหา :สีหลุดล่อน
1. การเตรียมพื้นผิวไม่ดีพอ
สาเหตุ :มีฝุ่นละออง คราบสิ่งสกปรกต่างๆ บนพื้นผิว การทาสีบนพื้นผิวดังกล่าว ทำให้การยึดเกาะของสีไม่ดี และหลุดล่อนในที่สุด
การแก้ไข :ขูด ลอก ฟิล์มสีที่หลุดล่อนและล้างทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณดังกล่าวด้วย น้ำ+ผงซักฟอก+แปรง ทิ้งให้พื้นผิวแห้ง แล้วจึงทาสีเพื่อซ่อมงานตามระบบต่อไป
การป้องกัน : ควรล้างทำความสะอาดพื้นผิวด้วย น้ำ+แปรง+ผงซักฟอก เพื่อกำจัดฝุ่นละออง คราบสกปรกต่างๆ ทิ้งพื้นผิวให้แห้งก่อนงานทาสีทุกครั้ง
2.พื้นผิวปูนหมดอายุ
สาเหตุ : พื้นผิวปูนเป็นฝุ่น แตกหลุดออกมาเป็นผงปูน และทราย
การแก้ไข :พื้นปูนที่หมดอายุ จนไม่สามารถซ่อมได้ควรเตรียมพื้นผิวใหม่ โดยการฉาบปูนใหม่ ในกรณีที่พื้นปูนเริ่มหมดอายุ แนะนำให้ใช้น้ำยารองพื้นปูนเก่าแซนด์โต้เบอร์ S-4001 ทา 1เที่ยว เพื่อปรับสภาพพื้นปูนเก่าให้แน่นขึ้น (ช่วยเพิ่มความยึดเกาะระหว่างสีและผนังปูน)
การป้องกัน : ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการแก้ไขแต่กระทำก่อนงานทาสี
3.สีเดิมหมดสภาพ
สาเหตุ : พื้นผิวจะเห็นฝุ่น การทาสีทับบน พื้นผิวดังกล่าว (สีเดิมที่หมดสภาพ) จะทำให้สียึดเกาะกับผนังปูนไม่ดี ในที่สุดจะหลุดล่อน
การแก้ไข :ใช้เครื่องมือขูดลอกสีที่หลุดล่อนและสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกให้หมด ล้างทำความสะอาดพื้นผิว ก่อนทาสี เพื่อซ่อมงานตามระบบต่อไป : ในทางปฏิบัติการขูดลอกสี และล้างฟิล์มสีเดิม คงไม่สามารถ กระทำได้อย่างสมบูรณ์ จึงขอแนะนำให้ขูดล้างออกมากที่สุด แล้วใช้น้ำยารองพื้นปูนเก่า เบอร์ 970 ทา 1 เที่ยว เพื่อช่วยในการเชื่อมยึดระหว่างสีทับหน้ากับผนังปูนที่มีสีเดิมค้างอยู่
การป้องกัน : ควรล้างสีเก่าที่หมดอายุออกให้หมดก่อนเริ่มงานทาสี
4. คราบไขมัน
สาเหตุ : น้ำมันจากการหล่อแบบ (ได้แก่ แบบผิวหล่อ เสาโรมัน บันได) เพื่อสะดวกในการแกะแบบของผู้ผลิต นอกจากนี้แบบดังกล่าว ยังมีความเป็นด่างสูง
:ขูดลอกฟิล์มสีที่หลุดล่อนออกให้หมด และล้างทำความสะอาดพื้นผิวดังกล่าวด้วย น้ำ+ผงซักฟอก+แปรง บริเวณทิ้งให้แห้ง แล้วจึงซ่อมงานสีตามระบบต่อไป
การป้องกัน : ควรล้างทำความสะอาดชิ้นงานที่ได้จากการหล่อแบบ ก่อนการใช้ทาสีด้วย น้ำ+ผงซักฟอก+แปรง ให้สะอาด แนะนำให้ใช้น้ำยารองพื้นปูนใหม่แซนด์โต้ เบอร์ 272 จำนวน 1 เที่ยวเพื่อป้องกันความด่าง และเพิ่มการยึดเกาะก่อนเริ่มใช้งานทาสีตามระบบ
5. การใช้สีฝุ่นหรือสีซีเมนต์ไม่ถูกวิธี
สาเหตุ : ใช้งานสีดังกล่าวในขณะที่พื้นปูนที่มีความร้อน โดยเฉพาะงานภายนอก ทำให้น้ำในสีซีเมนต์ ระเหยออกไป (ซีเมนต์แห้งเร็วกว่าปกติ) การยึดเกาะของซีเมนต์กับพื้นปูนลดลง การทาสีทับลงไปบน ซีเมนต์ดังกล่าว ก็เหมือนกับทาสีบนพื้นที่มีฝุ่น ทำให้การยึดเกาะของสีไม่ดี และหลุดล่อนในที่สุด
การแก้ไข :ขูดลอกฟิล์มสีที่หลุดล่อนออกให้หมด และล้างทำความสะอาดพื้นผิวดังกล่าวด้วย น้ำ+ผงซักฟอก+แปรง ทิ้งพื้นปูนให้แห้ง แล้วจึงซ่อมงานสีตามระบบต่อไป
การป้องกัน : ไม่แนะนำให้ใช้สีฝุ่นหรือสีซีเมนต์เป็นสีรองพื้นอาคารโดยเฉพาะงานภายนอก ขอแนะนำ ให้ใช้สีรองพื้นปูนกันด่างภายนอก เจบีพี 8700 หรือ เบอร์ 977 จะดีกว่า
ปัญหา :สีปูด บวม พอง
สาเหตุ : เนื่องจากมีความชื้นหลังจากการฉาบปูน จากการมีน้ำกักขังปริมาณมาก ได้แก่ บริเวณดาดฟ้า กันสาด ที่กักน้ำในห้องน้ำ ที่กักน้ำสำรอง
การแก้ไข :ขูดลอกสีปูด บวม พอง ออกให้หมดล้างทำความ สะอาดพื้นผิว ทิ้งให้แห้งแล้วจึงทาสีตามระบบ สำหรับงานภายใน : แนะนำให้ใช้น้ำยาอีพ็อกซี่ใส เบอร์ 5570เคลือบกันน้ำซึม เข้ามาทำลายฟิล์มสี ด้านบน และไม่เป็นพิษต่อน้ำดื่ม
ส่วนกันสาดหรือดาดฟ้า หมั่นดูแลอย่าให้มีน้ำกักขังในฤดูฝน
การป้องกัน : พื้นผิวก่อนทาสี ควรมีปริมาณความชื้น <17% ก่อนลงมือทาสีหรือซ่อมสีอาคาร ควรตรวจ สภาพอาคารโดยรอบอย่าให้มีน้ำขังตามบริเวณกันสาด, ดาดฟ้า
ปัญหา :สีซีดด่าง เป็นคราบขาว
สาเหตุ : เกิดจากการทรุดตัวของอาคารที่พบเห็นมักจะเป็น รอยแตกร้าวของผนัง เป็นเหตุให้ฟิล์มสี ฉีกขาด ไม่ต่อเนื่อง และเป็นที่เก็บกักความชื้น ทำให้ส่วนประกอบ ประเภทของปูนซีเมนต์ละลายออกมา ในบริเวณที่แตกร้าวดังกล่าว เกิดเป็นคราบขาวของเกลือ
การแก้ไข :ขูดลอกฟิล์มสีที่ฉีกขาดเป็นคราบ ขาว ในกรณีที่บริเวณดังกล่าวมีความชื้น รอยแตกร้าว ความกว้างน้อยกว่า 1 ซม.โดยการใช้สีอีพ็อกซี่ชนิด 2 ส่วนทาบริเวณที่ต้องการซ่อม 1 เที่ยว พร้อมกับใช้ สีอีพ็อกซี่ที่เหลือผสมดินสอพองให้เหนียวข้น (เหมือนสีโป๊ว) อุดโป๊วตามรอยแตกร้าว พร้อมตกแต่งให้ เรียบ แล้วจึงทาสีตามระบบ หรือในกรณีที่อาคารแตกลายงา แต่บริเวณนั้นไม่มีความชื้น ให้ทาด้วยน้ำยา รองพื้นปูนเก่าเบอร์970จำนวน1เที่ยว ให้ทั่วบริเวณ ส่วนรอยแตกให้โป๊ด้วยสีรองพื้นปูนแดร๊กพรู๊ฟ เบอร์ 8703 ตกแต่งพื้นผิวให้เรียบ แล้วจึงทาสีตามระบบ
การป้องกัน : ควรให้ช่างระมัดระวังขณะฉาบปูน ไม่ควรเร่งจนเกินไป ทำให้เกิดรอยร้าวแตกลายงา
ปัญหา :สีซีดด่าง เปลี่ยนสี
สาเหตุ : การใช้แม่สีคุณภาพต่ำ เช่น ไม่ทนแสง ไม่ทนด่างมาแต่งเฉดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของช่างแต่งสี
การแก้ไข :ตรวจสอบฟิล์มสีที่ซีดด่าง ในกรณีที่ฟิล์มสีปกติ ให้ทำความสะอาดผิวฟิล์ม แล้วทาทับหน้าด้วยสี ระบบ/เกรดเดียวกัน 1-2 เที่ยว ทั้งนี้ให้พิจารณาเลือกแม่สีคุณภาพดีมาแต่งเฉด
การป้องกัน : ช่างแต่งสีควรเลือกใช้แม่สีคุณภาพดีมาใช้ในการแต่งเฉดหรือเลือกเฉดสีที่บริษัทฯ ผลิต สำเร็จรูปเลยจะดีกว่า
ปัญหา :ฟิล์มสีเกิดเชื้อรา
สาเหตุ : มักเกิดกับบริเวณการใช้งานสีที่มีความชื้นสูง ใต้ร่มเงา หรือบริเวณแสงแดดส่องไม่ถึง ทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อราบนฟิล์มสีเป็นไปด้วยดี
การแก้ไข : ต้องกำจัดเชื้อราโดยใช้สารละลาย10% โซเดียมไฮโปรคลอไรท์ หรือใช้น้ำยาซักผ้าขาว (ไฮเตอร์) ตามท้องตลาดนำมาเจือจางให้มีความเข้มข้น 20 % ทั้งนี้เพื่อให้การกำจัดเชื้อรา เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา เจบีพี เบอร์ 770 ทาให้ทั่ว จำนวน 1 เที่ยว ก่อนทาสีตามระบบ
การป้องกัน : จัดให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกมีแสงสว่างถึง เพื่อป้องกันมิให้เชื้อราเจริญเติบโตได้
ปัญหา :ฟิล์มสีมีตะไคร่น้ำ
สาเหตุ : มักเกิดกับบริเวณการใช้งานสีที่มีความชื้นสูงที่น้ำขังแช่อยู่เป็นเวลานาน (เนื่องจากการออกแบบ โครงสร้างไม่ถูกต้อง)
การแก้ไข : ต้องล้างขัดตะไคร่น้ำออกให้หมด ด้วย น้ำ+แปรง+ผงซักฟอก ทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา, ตะไคร่น้ำ # 770 ทิ้งพื้นผิวให้แห้ง (ความชื้น <15%) แล้วจึงทาสีตามระบบ
การป้องกัน : แก้ไข/ ดูแล มิให้น้ำขังบนดาดฟ้า หรือกันสาด ระวังมิให้เกิดการอุดตันของท่อทางระบายน้ำ
ปัญหา :ฟิล์มสีเกิดคราบดำ
1. เกิดจากฝุ่นละออง หรือเขม่าควันดำ (Dirt Pickup)
สาเหตุ : เนื่องจากสีบางชนิดฟิล์มสีจะอ่อนนุ่มเมื่อได้รับความร้อน (ค่า Tg ต่ำ) จึงเป็นการเอื้ออำนวยให้ ฝุ่น/เขม่าควันดำ มาเกาะติดฟิล์มสี
การแก้ไข : ล้างทำความสะอาดฟิล์มสีเดิม แล้วทาสีใหม่ทับ
การป้องกัน : เลือกสีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยฟิล์มสีควรมีความแข็งกว่าเดิม
2. รอยเปื้อนจากสารปรอท
สาเหตุ : เนื่องจากสารปรอท, ตะกั่ว ในส่วนผสมของสีทำปฏิกิริยากับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เกิดเป็นปรอทซัลไฟด์ (Hg S, Pbs) ปรากฎเป็นคราบสีดำบนฟิล์มสี มักพบในบริเวณที่มี ความหนาแน่น ของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สูง ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาง เหมืองถ่านหิน โรงงานผลิต กรดกำมะถัน บริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น
การแก้ไข :ล้างทำความสะอาดฟิล์มสีเดิม แล้วทาสีใหม่ทับ โดยเลือกชนิดที่ไม่มีสารปรอท เป็นส่วนผสมของสี
การป้องกัน : เลือกประเภทสีที่ไม่มีโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว เป็นส่วนผสมของสี ใช้ทาบริเวณดังกล่าว |
 |
|
|
|