|
ปัญหาผนังกำแผงรั่วซึมจะแก้ไขได้ยังไง?
ปัญหานี้นับได้ว่าเป็นอีกจุดในบ้าน หรืออาคารที่มักจะพบปัญหาการรั่วซึม คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เมื่อทำ การผสมน้ำยากันซึมลงไปในคอนกรีตแล้ว จะทำให้น้ำยาสามารถกันน้ำรั่วซึมได้ถึง 100 % แต่ว่า แท้จริงแล้วนั้น ในขั้นตอนการทำงานซ่องแซมผนัง ยังมีโอกาสอีกมากที่จะเกิด รูพรุนรั่วซึม หรือ ที่เรียกได้ว่า การเกิดช่องว่างในเนื้อคอนกรีต ซึ่งจะทำให้น้ำสามารถซึมผ่านผนังกำแพงออกมาได้
แต่นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆประกอบด้วย ดังนี้
สาเหตุของปัญหาผนังกำแพง เกิดอาการรั่วซึ่ม
อย่างแรกเลย คือโครงสร้างของกำแพงค์คอนกรีต ที่ไม่มีการติดตั้งระบบกันซึม และโครงสร้าง ที่เกิดรอยแตกร้าว เนื่องจากการทำงานหรือการก่อสร้างที่ไม่ถูกวิธี ผิดหลัก Spec หรือแม้แต่การ เกิดจากเจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในช่วงนั้น จนสามารถเกิดรอยแตกร้าว ซึ่งเป็นจุดที่ให้น้ำ สามารถรั่วซึมได้
คอนกรีตมีการซึมเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน หรืออาจจะเกิดจากผนังคอนกรีต ที่สร้างไว้นานแล้ว จนอาจจะเกิดการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน บางทีอาจ จะเกิดจาก การเข้าใจที่ผิดๆ เช่นการเข้าใจว่าการผสมน้ำยากันซึมกันรั่ว ไปพร้อมกับในคอนกรีตแล้ว จะสามารถ ป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมได้ 100% เต็ม
ของสำหรับการป้องกัน ผนังคอนกรีต และกำแพงน้ำรั่วซึม เช่น TOA 202 Waterproof Resin หรือสารอะครีลิคผสมพร้อมกับปูนและทราย สามารถใช้ฉาบกันน้ำรั่วซึมได้ ในเบื้องต้น อีกทั้งสามารถทำให้เนื้อปูนทำการฉาบได้แน่นขึ้น และสามารถกันน้ำซึมได้ดีขึ้นอีกด้วย
การป้องกันน้ำซึมเข้าผนังกำแพงคอนกรีตนั้น จะสามารถทำให้ ไม่เกิดปัญหาสีหลุดลอกหรือกระเบื้องหลุดล่อนจากความชื้นของผนังได้ แต่ทั้งนี้เนื้อปูนที่ใช้ฉาบจะต้อง มีความแข็งแรงทนทานพอสมควร สามารถใช้ฉาบตกแต่งทั่วไป หรือฉาบซ่อมแซมปรับพื้นผิวผนัง ให้เรียบร้อยก่อนงานทาสีในตอนหลังได้
การป้องกันผนังรั่วซึมนี้ เหมาะอย่างยิ่งกับงานฉาบกันน้ำรั่วซึมบริเวณพื้นบ้าน พื้นทั่วไปและผนังห้องน้ำ ก่อนทำการปูกระเบื้อง ทั้งบริเวณดาดฟ้า ริมระเบียง สระว่ายน้ำไปจนถึงพื้นและผนังคอนกรีตทั้งด้านนอก และด้านในด้วย TOA 237 Cement Membrane ที่มีโพลีเมอร์ถึงสองส่วน ผสมใช้ทากันซึมได้เช่นกัน
ใช้ทากันซึมบริเวณผนังห้องน้ำ และสระว่ายน้ำ รวมไปถึงถังบำบัดน้ำเสียและรางระบายน้ำก็ได้ โดยจะสามารถให้การยึดเกาะกับพื้นผิวผนังได้ดีเยี่ยม มีความแข็งแรงทนทาน ไม่หดตัว และลดปัญหา การเกิดการรั่วซึมได้ ด้วยความที่ยืดหยุ่นตัวสูง เป็นระบบป้องกันการกันซึมแบบที่เรียกว่าไร้รอยต่อ และยังสามารถใช้กับน้ำดื่มทั่วไป และตามมารตรฐานการประปา |
|
|
|
|
|